เมนู

ไม่มีความเบียดเบียน. สติสัมโพชฌงค์นั้นแล ชื่อว่า วิปุละ เพราะแผ่ไป.
ซึ่งว่า มหรคต เพราะถึงความเป็นใหญ่ ชื่อว่า อัปปมาณะ เพราะมีความเจริญ
หาประมาณมิได้. ชื่อว่า อัพยาปัชฌะ เพราะเว้นความพยาบาทโดยห่างไกล
นิวรณ์ทั้งหลาย. บทว่า ตณฺหาย ปหานา กมฺมํ ปหียติ ความว่า กรรม
อันใดมีตัณหาเป็นมูลพึงเกิดขึ้น ย่อมละกรรมนั้นได้เพราะการละตัณหา. บทว่า
กมฺมสฺส ปหานา ทุกขํ ความว่า วัฏทุกข์ แม้อันใด มีกรรมเป็นมูล พึง
เกิดขึ้น เพราะละกรรมได้ จึงละวัฏทุกข์นั้นได้. ชื่อว่า สิ้นตัณหาเป็นต้น
เพราะสิ้นตัณหาเป็นต้นนั่นแหละ แต่ว่าโดยความ พึงทราบว่า นิพพาน ท่าน
กล่าว เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาเหล่านั้น.
จบอรรถกถาขยสูตรที่ 6

7. นิโรธสูตร *



ปฏิปทาเป็นไปเพื่อดับตัณหาคือโพชฌงค์ 7


[451] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มรรคาใด ปฏิปทาใด ย่อมเป็นไป
เพื่อความดับตัณหา เธอทั้งหลายจงเจริญมรรคานั้น ปฏิปทานั้น. มรรคา
และปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความดับตัณหาเป็นไฉน. คือ โพชฌงค์ 7. โพชฌงค์
7 เป็นไฉน คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์.
[452] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๊ 7 อันบุคคลเจริญแล้ว กระ
ทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อความดับตัณหา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
* สูตรที่ 7 ไม่มีอรรถกาแก้